เมนู

ความเป็นอย่างนั้นมีอยู่ รสทั้งหมดที่ไม่ตรัสไว้ในพระบาลีมีรสก้อนดิน รส-
ฝาเรือน และรสผ้าเก่าเป็นต้น พึงทราบว่า รวมที่เยวาปนกรส. รสนี้แม้ต่าง
กันโดยเป็นรสรากไม้เป็นต้นอย่างนี้ แต่ว่าโดยลักษณะเป็นต้นก็มิได้แตกต่าง
กันเลย.

ว่าโดยลักขณาทิจตุกะของรส


สพฺโพ เอโส ชิวฺหาปฏิหนนลกฺขโณ รโส

รสมีการกระทบลิ้น
เป็นลักษณะ ชิวฺหาวิญฺญาณสฺส วิสยภาวรโส มีความเป็นอารมณ์ของ
ชิวหาวิญญาณเป็นรส ตสฺเสว โคจรปจฺจุปฏฺฐาโน มีความเป็นโคจรของ
ชิวหาวิญญาณนั้นนั่นแหละเป็นปัจจุปัฏฐาน. คำที่เหลือพึงทราบโดยนัยที่กล่าว
ในจักขายตนนิทเทสนั่นแหละ แม้ในนิทเทสนี้ ก็ตรัสวาระ 13 ประดับด้วย
นัย 52 เหมือนกันนั่นแหละ.

อรรถกถาอิตถินทริยนิทเทส


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งอิตถินทรีย์.
บทว่า ยํ เป็นตติยาวิภัตติ ในข้อนี้อธิบายว่า ทรวดทรงหญิงเป็นต้น
แห่งหญิง ย่อมมีด้วยเหตุใด. บรรดาคำเหล่านั้น บทว่า ลิงฺคํ ได้แก่ ทรวดทรง
จริงอยู่ ทรวดทรงแห่งอวัยวะมีมือ เท้า คอ และอุทรเป็นต้น ของหญิงไม่
เหมือนของชาย เพราะกายท่อนล่างของหญิงทั้งหลายล่ำ กายท่อนบนไม่ล่ำ
มือเท้าเล็ก ปากเล็ก.
บทว่า นิมิตฺตํ (เครื่องหมาย) ได้แก่ เป็นเหตุรู้ได้ จริงอยู่ เนื้อขา
ของหญิงทั้งหลายล่ำ ปากไม่มีหนวดเครา แม้ผูกผ้ารัดผมก็ไม่เหมือนของพวก
ชาย. บทว่า กุตฺตํ ได้แก่ กิริยา คือการกระทำ ด้วยว่า พวกหญิงทั้งหลาย

ในเวลาเป็นเด็ก ย่อมเล่นกระด้งและสากเล็ก ๆ ย่อมเล่นตุ๊กตา เอาดินเหนียว
และปอมากรอเป็นด้าย.
บทว่า อากปฺโป (อาการ) ได้แก่ อาการคือการเดินเป็นต้น ด้วยว่า
หญิงทั้งหลายเมื่อเดินก็เดินไม่เร็ว เมื่อยืน เมื่อนอน เมื่อนั่ง เมื่อเคี้ยวกิน
ก็ยืน นอน นั่ง เคี้ยวกินไม่เร็ว เมื่อบริโภคก็บริโภคอย่างช้า จริงอยู่ ชน
ทั้งหลายเห็นคนแม้เป็นชายเชื่องช้าก็พูดว่า ชายคนนี้เดิน ยืน นอน นั่ง
เคี้ยวกิน บริโภคเหมือนผู้หญิง ดังนี้.
คำว่า อิตฺถิตฺตํ อิตฺถีภาโว (สภาพหญิง ภาวะของหญิง) แม้ทั้ง 2
นี้มีความหมายอย่างเดียวกัน คือเป็นสภาวะของหญิง ก็สภาวะของหญิงนี้เกิด
แต่กรรม ตั้งขึ้นพร้อมกับจิตในปฏิสนธิกาล ส่วนทรวดทรงหญิงเป็นต้น ไม่
ตั้งขึ้นในปฏิสนธิกาลดุจอิตถินทรีย์ แต่ก็อาศัยอิตถินทรีย์ตั้งขึ้นในปวัตติกาล.
เหมือนอย่างว่า เมื่อพืช (เมล็ดพืช) มีอยู่ ต้นไม้อาศัยพืชเพราะพืชเป็นปัจจัย
จึงเจริญเติบโตสมบูรณ์ด้วยกิ่งและคาคบตั้งอยู่เต็มช่องว่าง ฉันใด ครั้นเมื่อ
อิตถินทรีย์คือความเป็นหญิงมีอยู่ อวัยวะมีทรวดทรงแห่งหญิงเป็นต้น ก็มี
ฉันนั้นเหมือนกัน. ก็อิตถินทรีย์เปรียบเหมือนพืช ทรวดทรงหญิงเป็นต้น
อาศัยอิตถินทรีย์ ย่อมตั้งขึ้นในปวัตติกาล เปรียบเหมือนต้นไม้อาศัยพืชเจริญ
เติบโตแล้วตั้งอยู่เต็มช่องว่าง ฉะนั้น.
บรรดาอินทรีย์ทั้งหลายเหล่านั้น อิตถินทรีย์ไม่พึงรู้ได้ด้วยจักขุวิญญาณ
พึงรู้ได้ด้วยมโนวิญญาณเท่านั้น. ทรวดทรงของหญิงเป็นต้นรู้ได้ทางจักษุ
วิญญาณบ้าง ทางมโนวิญญาณบ้าง.
บทว่า อิทนฺตํ รูปํ อิตฺถินฺทฺริยํ (รูปนี้นั้น เรียกว่าอิตถินทรีย์ )
ความว่า รูปนี้นั้น ไม่เหมือนกับจักขุนทรีย์เป็นต้นแม้เป็นของบุรุษ แต่เมื่อ
ว่าโดยนิยม อินทรีย์เฉพาะของหญิง ชื่อว่า อิตถินทรีย์.

อรรถกถาปุริสินทริยนิทเทส


แม้ในปุริสินทรีย์ ก็นัยนี้เหมือนกัน แต่ทรวดทรงของชายเป็นต้น
พึงทราบโดยความตรงกันข้ามกับทรวดทรงของหญิงเป็นต้น เพราะสัณฐาน
แห่งอวัยวะมีมือ เท้า คอ และอุทรเป็นต้นของชาย ไม่เหมือนของหญิง
ด้วยว่า กายท่อนบนของชายล่ำสัน กายท่อนล่างไม่ล่ำสัน มือเท้าก็ใหญ่
ปากใหญ่ เนื้อขาไม่ใหญ่ หนวดเคราเกิดขึ้น การใช้ผ้าผูกผมก็ไม่เหมือนของ
หญิงทั้งหลาย ในเวลาเป็นเด็กย่อมเล่นรถและไถเป็นต้น ย่อมทำขอบคันด้วย
ทราย ย่อมขุดชื่อซึ่งหลุม แม้การเดินเป็นต้นก็องอาจ ชนทั้งหลายเห็นแม้หญิง
ผู้ทำการเดินเป็นต้นให้องอาจ ย่อมพูดคำเป็นต้นว่า แม้คนนี้ย่อมเดินเหมือน
ชาย ดังนี้ คำที่เหลือเหมือนกับที่กล่าวไว้ในอิตถินทรีย์นั่นแหละ.

ว่าด้วยลักขณาทิจตุกะ


บรรดาอินทรีย์ทั้ง 2 นั้น อิตฺถีภาวลกฺขณํ อิตฺถินฺทฺริยํ อิต-
ถินทรีย์มีอิตถีภาวะ (มีความเป็นหญิง) เป็นลักษณะ อิตฺถีติ ปกาสนรสํ
มีการประกาศว่าเป็นหญิงเป็นรส อิตฺถีลิงฺคนิมิตฺตกุตฺตากปฺปานํ กรณ-
ภาวปจฺจุปฏฺฐานํ
มีความเป็นสัณฐาน นิมิต การเล่นและกิริยาอาการของหญิง
เป็นปัจจุปัฏฐาน.
ปริสภาวลกฺขณํ ปุริสินฺทฺริยํ ปุริสินทรีย์ มีปุริสภาวะเป็นลักษณะ
ปุริโสติ ปกาสนรสํ มีการประกาศว่าเป็นชายเป็นรส ปุริสลิงฺคนิมิตฺต-
กุตฺตากปฺปานํ กรณภาวปจฺจุปฏฺฐานํ
มีความเป็นสัณฐาน นิมิต การเล่น
และกิริยาอาการของชายเป็นปัจจุปัฏฐาน.